Th En
0

Research

12 April 2018

รู้ทัน “วัณโรค”


ถ้าพูดถึง “วัณโรค” ทุกคนจะคิดถึงอาการที่คน ไอ ติดต่อกันจนเรื้อรังแต่ “วัณโรค” แต่วัณโรคที่จะพูดถึงในที่นี้คือ วัณโรค ที่เกิดขึ้นในปลาสวยงาม เพราะปลาก็คงจะไม่สามารถไอ แบบเรื้อรังเหมือนคนได้ เราไปทำความรู้จักเบื้องต้นกับโรคนี้กันเลยครับ
               
“วัณโรค” ในปลาสวยงามมีสาเหตุที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Mycobacterium piscium   โดยโรคนี้ส่วนใหญ่มักจะเกิดในปลาสวยงามประเภท กินเนื้อเป็นอาหาร และยังสามารถพบได้ในปลาสวยงามทั่วไป เช่น ปลากัด ปลาทอง อื่นๆอีกมากมาย สามารถเป็นโรคได้ทั้งที่เลี้ยงในตู้และในบ่อ โดยปลาที่ป่วยหรือได้รับเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ จะไม่ค่อยแสดงอาการภายนอกให้เห็นขึ้นอยู่กับสุขภาพของปลา แต่เมื่อใดที่ปลาอ่อนแอต้านเชื้อไม่ไหวจะเริ่มแสดงอาการภายนอกให้เราเห็น ต่างๆ ดังนี้

1. เกล็ดหลุด ผิวหนังเป็นแผล ครีบต่างๆขาดและเปื่อย
2. ตาโปน และอาจจะหลุดออกจากเบ้าตา
3. ลำตัวผอม แห้ง
4. ปลาจะไม่กินอาหาร 
5. ตามีลักษณะเป็นฝ้า หรือ ตาขาวขุ่น
6. มักจะพบว่าอวัยวะภายในถูกทำลาย และเป็นจุดขาว กระจายทั่วอวัยวะ


 การป้องกันและรักษา

     สำหรับวัณโรคปลายังไม่มาวิธีการที่จะรักษาปลาได้อย่างแน่นอน เพียงแต่การรักษาตามอาการที่แสดงออกมาภายนอก และถ้าเรามีการป้องกันและการจัดการที่ดี ปลาก็จะไม่ป่วย ไปดูกันว่าเมื่อมีการระบาดของโรคเราควรปฏิบัติอย่างไร

1.  เมื่อสังเกตเห็นปลาป่วยหรืออาการผิดปกติเข้าข่ายเป็นโรคต้องรีบแยกปลาออก เผื่อทำการรักษา
2.  ตู้หรือบ่อที่เลี้ยงควรทำความสะอาด เปลี่ยนถ่ายน้ำอย่างสม่ำเสมอ
3.  วัสดุกรองต่างๆ นำมาล้างทำความสะอาด พร้อมเติม จุลินทรีย์ที่มีชีวิตช่วยลดของเสียในบ่อ เพื่อรักษาคุณภาพน้ำให้ดีอยู่เสมอ และเพื่อลดพื้นที่สำหรับเชื้อโรคไม่ให้มีที่อยู่อาศัย
4.  การให้อาหารสด เช่น เนื้อปลาสด กุ้งฝอย หรือลูกไรแดงอาจจะมีเชื้อแบคทีเรียปะปนมาควรทำความสะอาดอย่างดีก่อนให้ปลากิน
5.  เลือกซื้อปลาจากแหล่งที่มีความน่าเชื้อถือ ฟาร์มเพาะเลี้ยงปลาจะต้องไม่มีประวัติการเกิดโรคหรือมีประวัติมีการระบาดของวัณโรคปลาในฟาร์ม
6.  เมื่อพบปลาตาย ควรทำลายซากอย่างถูกวิธี โดยการเผาทำลายไม่ควรที่จะนำไปโยนทิ้งลงแหล่งน้ำธรรมชาติ หรือปล่อยทิ้งให้สัตว์อื่นๆ กินเป็นอาหาร
7.  วัณโรคปลา โรคนี้สามารถก่ออันตรายต่อผิวหนังคนได้ โดยส่วนใหญ่จะพบกับคนที่คลุกคลีอยู่กับสัตว์น้ำที่ป่วย โดยการสัมผัสโดยตรงทำให้ พบตุ่มลักษณะแข็ง หรือ หูด ที่มือ นิ้วมือ  ดังนั้นถ้าเรามีบาดแผลจึงควรหลีกเหลี่ยงการสัมผัสกับปลาหรือซากปลาที่ตายโดยตรงโดยเด็ดขาด

                           

This website contains information about the use of the website. to provide a good experience for you
If you continue to use the website or close this message We assume that you agree to PDPA Policy