Th En
0

Research

07 March 2018

โรคที่เกิดจากพยาธิภายนอก


เคยนั่งสั่งเกตุไหมว่า .... ปลาที่เราเลี้ยงในบ่อชอบเอาตัวถูๆไถๆ กับก้อนหิน พื้นบ่อ หรือแม้กระทั้งกระโดดขึ้นเหนือผิวน้ำบ่อยเกินผิดปกติ นั้นแหละคือสัญญาณบอกเหตุว่าปลาที่คุณรักกำลังมี “หนอนสมอเกาะอยู่”  หลายๆท่านผมเชื่อว่ายังนึกหน้าตาของหนอนสมอไม่ออก ก่อนอื่นเรามาดูกันว่ารูปร่างลักษณะของมันเป็นอย่างไร หนอนสมอ Anchor worms มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lernaea sp. จัดอยู่ในไฟลัม (Phylum) Arthropoda พวกเดียวกับแมลง และ กุ้งปู นั่นเองค่ะ อยู่ในชั้น สับไฟลัม (Subphylum) Crestacea อยู่ในคลาส (Class) Copepoda หรือกลุ่มเดียวกับ โคพีพอด ต่างๆ อยู่ในอันดับ (Order) Cyclopoida ครอบครัว (Family) Lernaeidae ซึ่งเป็นครอบครัวของหนอนสมอชนิดต่างๆ
หนอนสมอโดยทั่วไป มีขนาดยาวประมาณ 10-22 มิลลิเมตร กว้าง 0.5-1.2 มิลลิเมตร เป็นปรสิตที่พบในปลาน้ำจืดได้หลากหลาย ไม่จำกัดชนิด มีวงจรชีวิต 3 ระยะคือ ระยะตัวอ่อน หรือ Nauplius เป็นระยะที่ไม่กินอาหาร ทำการลอกคราบหลายครั้งเข้าสู่ระยะต่อไป และว่ายน้ำหาโฮสต์ (Host) หรือ ปลาเคราะห์ร้ายเกาะ เมื่อหาปลาเกาะได้แล้ว ก็จะเข้าสู่ระยะ copepodid ซึ่งมีขนาดเล็ก สามารถเคลื่อนที่ไปยังส่วนต่างๆบนเมือกผิวหนังปลาได้แต่ยังไม่ทำอันตรายปลา ต่อจากนั้นก็จะทำการผสมพันธุ์กัน เมื่อภายหลังผสมพันธุ์แล้ว หนอนสมอเพศเมียก็จะใช้ส่วนหัว ซึ่งประกอบด้วยตะขอ (Hook) แหลมคม 4 อัน เจาะฝังลึกเข้าไปในเนื้อเยื่อปลา เรียกระยะนี้ว่า physogastric หนอนสมอเพศเมียจะมีถุงไข่ขนาดใหญ่สองถุง ห้อยติดอยู่บริเวณท้ายลำตัว ซึ่งบรรจุไปด้วยไข่มากมายมากกว่า 700 ฟอง ซึ่งจะแตกออกกลายเป็นตัวอ่อน microscopic free-swimming ต่อไป วงจรชีวิตทั้งหมด กินเวลา ประมาณ 15 วัน (ขวัญเรือน สุวรรณรัตน์, สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง สงขลา) 

เห็นไหมครับ หนอนสมอตัวเล็กๆ เพียงแค่ 10-22 มิลลิเมตร แต่มันสามารถทำให้ปลาที่เราเลี้ยงมีอาการดังต่อไปนี้ 
1.มีอาการซึม เชื่องช้าไม่ร่าเริง 
2.กินอาหารน้อยลง หรือไม่ค่อยกินอาหาร 
3.ลำตัวผอมแห้ง 
4.กระพุ้งแก้มเปิดอ้าตลอดเวลา 
5.ตามลำตัว ผิวหนัง ตาจะมีรอยแดงจ้ำๆ ช้ำเลือดในบริเวณที่หนอนสมอเกาะ
6.ปลาขับเมือกออกมาเป็นจำนวนมาก 
7.ว่ายน้ำกระวนกระวาย เอาลำตัวถูกตามพื้นบ่อหรือก้อนหิน 

และในที่สุดปลาก็จะตายถ้าไม่ได้รับการรักษา เมื่อเราเห็นปลาที่เรารักทรมานแบบนี้อย่ามัวนิ่งเฉยเรามีตัวช่วยในการควบคุมและจัดการหนอนสมอด้วย “ไซเตส (Sites) “ ผลิตภัณฑ์ควบคุมปรสิตภายนอก เหมาะสำหรับปลาที่มีขนาดใหญ่เช่นปลาทอง ปลาคาร์ฟ เป็นต้น และ (ห้ามใช้กับปลาอะโรวาน่า ปลาตระกูลปลาคู้ ปลาเรนโบว์ และ ปลาซิลเวอร์ดอลล่า) ห้ามใช้โดยเด็ดขาดกับปลาที่แพ้ง่าย ที่สำคัญก่อนนำปลาใหม่มาปล่อยควรกักโรคให้แน่ในก่อนนะครับ มิฉะนั้นจะเป็นพาหะนำไข่หนอสมอมาสู่ปลาเราได้ มี “ ไซเตส (Sites) “ ติดบ้านอุ่นใจทั้งคนทั้งปลา

                        

This website contains information about the use of the website. to provide a good experience for you
If you continue to use the website or close this message We assume that you agree to PDPA Policy