Th En
0

Research

15 September 2017

วัณโรคปลา Mycobacteriosis


สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียสกุล Mycobacterium เชื้อ M. marinum จะเจริญที่อุณหภูมิ 25-35 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2-3 สัปดาห์ ถ้าเลี้ยงเชื้อในที่มืดเชื้อจะมีแสงสว่างโคโลนีสีเหลือง 

การระบาด พบครั้งแรกในปลาคาร์ฟ ที่เลี้ยงในบริเวณสถานที่พักคนป่วยที่เป็นวัณโรคในประเทศฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1897 โรคนี้พบได้ในปลาเกือบทุกชนิดในเขตร้อนและเขตอบอุ่น ซึ่งในไทยพบบ่อยที่สุด ซึ่งสามารถเกิดได้กับปลาหลายชนิดเช่น ปลากัด ปลาช่อน ปลาเทวดา ปลาออสก้า ปลากระดี่ไฟ ปลาปอมปาดัว ปลาคาร์ฟ นอกจากนี้ยังพบว่าเชื้อวัณโรคปลาสามารถติดเชื้อในสัตว์เลือดอุ่นหลายชนิดได้ รวมถึงใน ”คน”  ด้วย การถ่ายทอดเชื้อจะผ่านทางบาดแผล และระบบทางเดินอาหาร 

ลักษณะอาการ 
1.ปลาว่ายน้ำเชื่องช้า ผอมแห้ง ไม่กินอาหาร
2.ท้องบวมน้ำ มีแผลตื้นๆตามลำตัว
3.เกล็ดหลุด ครีบกร่อน ตาโปน ตาบอดข้างหนึ่งหรือ สองข้าง 
4.สีของปลาเข้มหรือจางผิดปกติ 
5.รูปร่างผิดปกติ หรือคดงอ 
6.อวัยวะภายใน เช่น ตับ ไต ม้าม เกิดตุ่มเล็ก ๆ 

วิธีป้องกันและรักษา
1.ขณะเปลี่ยนถ่ายน้ำในบ่อหรือตู้ควรตากบ่อให้แห้ง 
2.รักษาคุณภาพน้ำ เปลี่ยนถ่ายน้ำเป็นประจำสม่ำเสมอ 
3.ไม่เลี้ยงปลาอัตราหนาแน่นจนเกินไป ควรเลี้ยงให้มีความเหมาะสมกับขนาดภาชนะที่เลี้ยง
4.ให้อาหารเหมาะปริมาณที่เหมาะสม และตักเศษอาหารเหลือก้นบ่อออก 
5.เมื่อปลาป่วยควรแยกเลี้ยง ไม่ควรเลี้ยงปลาป่วยรวมกับปลาในบ่อ และไม่ควรสัมผัสปลาที่ป่วยหรือตายโดยตรง เนื่องจากอาจจะติดเชื่อโรคจากปลาได้โดยเฉพาะถ้ามือเป็นแผล และร่างกายอ่อนแอจะทำให้ติดเชื้อโรคได้ง่ายยิ่งขึ้น
6.เมื่อปลาป่วยใช้ ผลิตภัณฑ์ “ไบโอโทนิค BioTonic”  เพื่อควบคุมโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย และรักษาอาการ ตัว ครีบและหางเปื่อย 

                            

This website contains information about the use of the website. to provide a good experience for you
If you continue to use the website or close this message We assume that you agree to PDPA Policy